0
ปลดหนี้ยังไงให้หนี้หมดไวแบบติดจรวด

การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐจริงๆ เพราะมันเป็นการสร้างภาระในอนาคตที่ต้องแบบรับกันยาวๆ แต่บางคนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะบ้านและรถเป็นสิ่งจำเป็นเลยทำให้ต้องเป็นหนี้กันยาวๆ บางคนตอนเริ่มซื้อก็มีกำลังทรัพย์ดี แต่พอผ่อนไปเรื่อยๆ เงินเริ่มไม่พอใช้ อยากจะเคลียร์หนี้ไวๆ วันนี้เราก็มีวิธีปลดหนี้มาฝากกัน เคลียร์ยังไงให้ไวเหมือนติดจรวด
1.เป็นหนี้บ้าน
ถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่ต้องผ่อนกันยาวๆ เกินกว่า 10 ปี บางคน 30 ปีกว่าจะชำระหนี้หมด ซึ่งอัตราการกู้ซื้อบ้านไม่ได้สูงมากนัก 6-7% ต่อปี แต่ก็ถือเป็นภาระที่ต้องแบกรับไว้อย่างยาวนาน แต่การจะปลดหนี้บ้านให้หมดไวๆ นั้น จำเป็นต้องโปะหนี้แบบลดต้นลดดอก ซึ่งจะทำให้เซฟค่าดอกเบี้ยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 6.5% ต่อไป ซึ่งอาจจะหนักสักหน่อยแต่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแบบบานปลาย
2.หนี้รถ
หนี้ก้อนหนี้ผ่อนไม่กี่ปีก็หมดเพราะไม่ได้แพงเหมือนบ้าน แถมอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ได้แพงมากด้วย อยู่ที่ 2.5 – 5% ต่อปี แต่เพราะดอกเบี้ยคงที่เลยทำให้ต้องจ่ายสูงในแต่ละเดือน ดังนั้นให้เลือกผ่อนในระยะเวลาที่สมควรเพื่อที่จะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น อาจจะหนักหน่อยในแต่ละเดือน แต่เพื่อแลกกับไม่ต้องจ่ายเบี้ยหัวแตกไปเรื่อยๆ ก็ต้องกัดฟันจ่าย
3.หนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด
เป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุด แต่ผู้คนก็นิยมเป็นหนี้บัตรประเภทนี้กันมาก ซึ่งการนำเงินในอนาคตมาใช้นั้นหากบริหารไม่ดี ก็มีแต่พังกับพัง เป็นหนี้จนแต่ละเดือนไม่พอจ่าย หรือไม่ก็จ่ายขั้นต่ำไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ดังนั้นหากไม่จำเป็นอย่างใช้บัตรประเภทนี้ หรือหากอยาเคลียร์หนี้ไวๆ แนะนำให้จ่ายในอัตราสูงสุดต่อเดือน ก็จะทำให้เคลียร์หนี้ได้ไวขึ้น

0
เลิกหาข้ออ้างให้ตัวเอง เพื่อเก็บออมเงินแบบมั่นคง

การเป็นมนุษย์เงินเดือนอย่างเรานั้นแสนลำบาก แต่ละเดือนแทบไม่พอใช้ ชักหน้าไม่ถึงหลังเลยจริงๆ ภาระค่าใช้จ่ายก็มากเหลือเกิน อยากจะมีเงินไปเที่ยวไปกินบางครั้งก็ต้องจำกัด จึงไม่มีเงินพอให้เก็บ บางคนก็มีข้ออ้างว่าค่าใช้จ่ายเยอะเก็บไม่ได้ไม่พอกินบ้างล่ะ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำการเลิกหาข้ออ้างเพื่อเก็บออมแบบมั่นคงให้ได้ทราบกัน
1.ข้ออ้างเงินเดือนน้อย
เป็นข้ออ้างยอดฮิตเลยก็ว่าได้ เอาจริงๆ ประชากรกว่า 70% ก็มีเงินเดือนน้อยทั้งนั้น อยู่ที่ว่าใครจะสัดสรรเงินอย่างไร การยกข้ออ้างนี้มาใช้เป็นการบอกปัดเพื่อให้ได้มาซึ่งการใช้จ่ายเกินตัว กลัวจะไม่ได้กินของดีๆ กลัวจะไม่ได้ช้อปปิ้ง ซึ่งจริงๆ แล้วนั้น เงินเดือนน้อยก็สามารถเก็บออมได้ เลิกอ้างแล้วเก็บออมซะ เงินเดือนออกเมื่อไหร่ให้หักมา 20% ก่อนเลยเพื่อเก็บออม เงินที่เหลือก็เอามาจัดสรรให้ดีๆ ส่วนไหนค่าใช้จ่าย ส่วนไหนค่ากิน ส่วนไหนค่าช้อป ทำแบบนี้จะยังใช้ชีวิตได้ตามปกติและยังมีเงินเก็บอีกด้วย
2.ข้ออ้างค่าใช้จ่ายเยอะ
แต่ละคนล้วนมีภาระทั้งสิ้น มากน้อยต่างกันไป บางคนมีภาระเยอะแต่เงินเดือนน้อย บางคนมีภาระน้อยแต่มีเงินเดือนเยอะ ซึ่งความจำเป็นของค่าใช้จ่ายก็ต่างกัน บางคนผ่อนบ้าน รถหรือมีภาระที่ต้องส่งเสียครอบครัว บางคนค่าใช้จ่ายเยอะเพราะต้องซื้อเสื้อผ้ามาประโคมใส่เพื่อหน้าตาทางสังคม ความต้องการล้วนแตกต่างกัน ดังนั้นข้ออ้างนี้ก็มีทางออก แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะเยอะแค่ไหน ก็ต้องมีให้เหลือเก็บบ้าง ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกให้หมด โดยเฉพาะการซื้อของ 1 แถม 1 แม้จะดูคุ้มค่า แต่ก็ต้องแลกด้วยการจ่ายเงินที่มากขึ้น ดังนั้นเอาเงินส่วนนี้มาเก็บไว้ดีกว่า
3.ข้ออ้างเรื่องอายุ
มีหลายคนเช่นกันโดยเฉพาะผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ๆ เห็นว่าอายุยังน้อยอยู่ไม่จำเป็นต้องเก็บเงินเก็บทองก็ได้ เพราะระยะเวลาการทำงานยังอีกยาวไกล ซึ่งการคิดเช่นนี้นั้นผิดมากๆ เพราะว่ายิ่งอายุการทำงานน้อยก็ยิ่งควรเก็บออมให้มาก เพื่อสร้างรากฐานให้กับชีวิตนั่นเอง

0
5 เทคนิคต้องรู้หากอยากเป็นนักลงทุน

ใครๆ ต่างก็อยากมีความมั่นคงทางการเงินทั้งนั้น แหละหนทางที่จะทำให้รวยได้ก็คงไม่พ้นการลงทุนต่างๆ แม้จะมีความเสี่ยงแต่โอกาสที่จะได้ก็มีสูงเช่นกัน การจะลงทุนให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้อยู่ที่ว่าลงทุนมากลงทุนนั้น แต่จะต้องมีการวางแผนการลงทุนที่ถูกต้องต่างหาก คือเคล็ดลับสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้
1. กำหนดเป้าหมายการลงทุน
อันดับแรกเลยจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายก่อน คิดอย่างจริงจังว่าจะลงทุนอะไร ประเภทไหน และอยากลงทุนไปเพื่ออะไร หาเหตุผลและรายละเอียดลึกๆ ไม่ใช่ว่าอยากลงทุนเพราะอยากรวย แค่นี้ยังไม่ใช่การกำหนดเป้าหมายที่ขัดเจนนัก เพราะมันกว้างเกินไปทั้งนี้จะต้องตั้งเป้าไว้เลยว่า การลงทุนในครั้งนี้จะต้องได้กี่บาทภายในระยะเวลากี่ปี เช่นจะมีเงินเก็บจากการลงทุน 1 ล้านบาทภายในเวลา 2 ปีเป็นต้น
2. ลงทุนด้วยเงินเหลือหรือเงินเย็น
เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นไม่ควรลงทุนด้วยเงินร้อนหรือเงินที่ต้องใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพราะอาจทำให้มีผลกระทบผูกพันเป็นลูกโซ่ได้ ดังนั้นควรลงทุนด้วยเงินเก็บที่มีอยู่ 6 เท่าของเงินเดือน หากยังไม่ถึงก็อย่าเพิ่งลงทุนเพราะสภาพคล่องทางการเงินยังไม่แข็งพอที่จะลงทุน
3. ทำความรู้จักตัวเอง
ในส่วนของการลงทุนนั้นมีหลายประเภทให้เลือก ก่อนอื่นจะต้องตอบคำถามและสำรวจตัวเองก่อนว่าชอบความเสี่ยงแบบไหน เพราะแต่ละการลงทุนนั้นความเสี่ยงมากน้อยต่างกัน ลองถามตัวเองว่ารับความเสี่ยงได้หรือไม่ ถ้าไม่ก็ควรลงทุนประเภทตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ