0
เทคนิคการจัดพอร์ต คนแบบไหนควรจัดยังไงบ้าง

การลงทุนนั้นควบคู่กับการจัดพอร์ต เพื่อกระจายเงินไปในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ หุ้น หรือเงินฝากเป็นต้น ซึ่งการจัดพอร์ตลงทุนนั้นนอกจากกระจายความเสี่ยงแล้วยังลงโอกาสขาดทุนจากภาวะเศรษฐกิจผันผวนอีกด้วย แต่การจัดพอร์ตนั้นคนแบบไหนควรจัดอย่างไร ลองมาดูกันเลย
1. คนที่ไม่อยากเสี่ยง
สำหรับคนชอบความเสี่ยงต่ำนั้น อาจจะต้องลดสเปคการลงทุนลงจะได้ไม่เจ็บตัว เช่นหากกำลังเก็บเงินดาวน์ของชิ้นใหญ่ อย่างบ้านหรือรถ ควรลดสเปคลงมาให้อยู่ในราคาที่ไม่คาดหวังมากเกินไป เพราอาจจะทำให้เงินดาวน์ไม่พอ การเพิ่มพอร์ตลงทุนจะยิ่งทำให้เครียดหนักไปอีกเมื่อไม่เป็นดังหวัง ดังนั้นควรลดสเปคของสิ่งที่อยากได้ลง และลงทุนในพอร์ตเท่าเดิมจะได้ไม่กระทบกับเงินที่ใช้จ่ายและเงินเก็บ
2. คนที่ไม่มีเวลา
สำหรับกลุ่มคนที่ไม่มีเวลาแต่อยากเล่นลงทุนพอร์ต อย่างเช่นทำธุรกิจส่วนตัวไม่เวลาว่างมานั่งจัดพอร์ตหรือเฝ้าดูทั้งวัน หรือทำงานอะไรที่แทบจะไม่มีเวลาว่าง ก็ควรจัดพอร์ตให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน อาจจะเลือกเป็นพอร์ตสำเร็จรูป หรือให้โปกเกอร์เข้ามาช่วยจัดการดูแลแทน
ก็เป็นทางเลือกของคนที่อยากจะลงทุน คนเป็นคนแบบไหนเหมาะกับการจัดพอร์ตแบบใดก็ค่อยๆ ศึกษากันไป เรื่องของการลงทุนนั้นจะต้องศึกษาให้ลึกเพราะเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ หากเล่นแบบชุ่ยๆ จะมีแต่เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

0
ทำอย่างไรเมื่อญาติมาขอยืมเงิน

เรื่องการโดนหยิบยืมเงินนั้นเป็นเรื่องที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกจริงๆ โดยเฉพาะกับญาติหรือเพื่อนสนิทที่มาหยิบยืม จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งหากไม่ได้มากได้มายอะไร ก็อาจจะยังพอช่วยเหลือกันได้บ้าง แต่หากผู้ยืมต้องการเอาไปใช้หนี้ หรือมีเรื่องฉุกเฉินต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก หากเราไม่พร้อมก็คงอึดอัดจะปฏิเสธก็ทำไม่ลง จะให้ยืมก็ไม่ได้เพราะเราเองก็จะเดือดร้อนด้วย ดังนั้นวันนี้เรามีวิธีจัดการกับปัญหานี้มาฝากกัน
1. ให้ยืมเฉพาะเท่าที่เสียแล้วรับได้
เป็นวิธีที่อยู่ระหว่างกึ่งกลางสำหรับคนที่ไม่กล้าปฏิเสธ ก็ให้เฉพาะเท่าที่เราพอมีกำลังและคิดว่าไม่เดือดร้อนถ้าให้ยืมไปในจำนวนเท่านี้ เช่นหากญาติหรือเพื่อนมาขอยืม 10000 บาท ก็ลองมาคิดดูว่าเงินจำนวนนี้เรามีกำลังพอจะช่วยเหลือไหม ถ้าไม่มีก็ให้ลองประมาณในส่วนที่พอจะให้ยืมได้โดยที่ไม่เดือดร้อนเป็นต้น ลองคาดคะเนไว้ล่วงหน้าว่าหากไม่ได้เงินคืน จำนวนเท่าไหร่ที่เราแบกรับกับหนี้จะสูญนี้ได้
2. ถ้าอยากรู้สาเหตุให้ถาม
ก่อนจะให้ญาติยืมเงินควรรู้สาเหตุเสียก่อน ไม่ใช่มาขอยืมก็ให้เลยโดยที่ไม่รู้ว่าเขาเอาไปทำอะไร จำเป็นจริงๆ หรือไม่ โดยเฉพาะหากเราไม่ได้มีเงินถุงเงินถังอะไรมากมาย ก็ควรไถ่ถามกันก่อน เผื่อจะหาทางออกอื่นที่ดีกว่า หรือหากว่าเหตุผลที่ให้มานั้นดูแล้วไม่จำเป็น ก็ควรปฏิเสธไปถ้าเราก็เดือดร้อนเหมือนกัน
3. เขียนลงเป็นลายลักษณ์อักษร
สุดท้ายหากว่าตกลงใจให้ยืมเงิน ก็ควรทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะบางทีสัญญาใจอย่างเดียว อาจจะไม่ได้เงินคืนก็ได้ หรือหากเป็นญาติที่ไม่ค่อยสนิทเท่าไหร่ ก็ควรมีการคิดดอกเบี้ยและมีค่าคิดเงินค่าสายไหมแต่คิดดอกที่ถูกกว่าอัตราเงินกู้จากธนาคารเป็นต้น

0
เริ่มออมต้นปี ดีกว่าอย่างไร

นี่ก็ปีใหม่แล้ว ลองมาเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆ กันบ้าง เชื่อว่าหลายคนมีแพลนเก็บเงินกันตั้งแต่ต้นปี แต่ก็อาจจะมีเหตุให้ยังไม่สามารถเก็บออมได้ เพราะหมดเงินไปกับการเฉลิมฉลองปีใหม่ ของขวัญของฝากต่างๆ ที่มอบให้แก่กันในเทศกาลปีใหม่ แต่ทว่าช่วงนี้เหมาะที่จะเริ่มออมเงินแบบจริงๆ จังๆ กันแล้ว วันนี้เราก็มีข้อดีของการออมเงินตั้งแต่ต้นปีมาฝากกันด้วย
1. ช่วยให้เงินออมเพิ่มพูนมากขึ้น
ข้อดีของการออมเงินผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์คือ จะได้ดอกเบี้ยทุกวัน ซึ่งจะคำนวณดอกเบี้ยที่ได้รับมารวมเป็ฯเงินต้นเพื่อเพิ่มพูนดอกเบี้ยให้กับเงินที่ฝาก ยิ่งถ้าไม่ถอนเลยนั้นธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้ปีละ 2 ครั้ง ฉะนั้นหากฝากเป็นประจำทุกเดือนในจำนวนเงินที่เท่ากันและใจแข็งไม่ถอนออกมาใช้เลย ภายใน 2 ปี จะได้รับดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีเงินฝากแบบปติด้วย ที่สำคัญคือไม่ต้องเสียภาษี ฉะนั้นยิ่งฝากยิ่งมีแต่ได้
2. ช่วยให้ไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วกว่า
และเมื่อเงินออมจากบัญชีเงินฝากประจำงอกเงยแล้ว สามารถนำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายในสิ่งที่ต้องการได้ ยิ่งถ้ามีเป้าหมายเอาไว้ชัดเจนด้วยแล้ว เช่นฝากเงินเพื่อเอาไว้เรียนต่อ ภายใน 2 ปีที่ฝากก็จะสามารถนำเงินส่วนนี้ไปเรียนต่อได้ โดยที่ไม่ต้องเดือดร้อนไปกู้เงิน ซึ่งวิธีการฝากสิ่งสำคัญจะต้องฝากในจำนวนเงินที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอ ฝากได้ทุกเดือนยิ่งดี อีกอย่างคือการออมเงินฝากนั้นเป็นการฝึกวินัย ฝึกนิสัยการอดออมอีกด้วย

0
มาออมเงินเก๋ๆ สไตล์ชาวญี่ปุ่นกัน

เป็นอีกประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการอดออม เพราะวัฒนธรรมเขาปลูกฝังให้ประชากรเก็บเงินไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินและเผื่อไว้ใช้ยามแก่เฒ่า ซึ่งการเก็บออมในปัจจุบันนั้นก็มีหลายวิธีที่สามารถทำได้ แต่วันนี้มีข้อมูลการออมเงินของชาวญี่ปุ่นมาฝากกันด้วย น่าสนใจไม่น้อยเลยล่ะ
เคล็ดลับการออมเงินของแม่บ้านชาวญี่ปุ่น
ตั้งแต่ในสมัยศตวรรษที่ 16 มีเรื่องเล่าว่า ภรรยาของซามูไรท่าหนึ่งได้ซ่อนเงินเก็บไว้ลับๆ เก็บทีละเล็กทีละน้อยเป็นเวลานานหลายปี เมื่อได้มากพอที่ต้องการก็นำไปซื้อม้าชั้นดีมาให้สามีใช้ไปรบ ซึ่งม้าตัวนี้กลายเป็นคู่หูที่แสนดีช่วยสามีนางรบชนะทุกครั้ง จึงเป็นที่มาของการออมเงินเพื่อซื้อของมีค่าเป็นโชคลาภแก่ผู้รับ
เคล็ดลับการออมเงินแบบ Kakeibo
หรือที่เรียกกันว่าการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย รูปแบบเป็นสมุดบันทึกซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 1904 สร้างขึ้นโดย Motoko Hani ปัจจุบันยังมีการใช้งานอยู่ ซึ่งจะจดบันทึกสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับรายรับ-รายจ่ายดังนี้
1.จดรายรับกับรายจ่ายที่ใช้เป็นประจำอย่างละเอียดเพื่อหาส่วนต่างระหว่างสองรายการ เพื่อหาเงินที่สามารถจำไปใช้ออมได้
2.กำหนดจำนวนตัวเลขเงินที่ต้องการจะเก็บ และแยกเงินนั้นออกจากรายรับ-รายจ่าย
3.ตั้งเป้าในรายจ่ายแต่ละหมู่แยกกันโดยสิ้นเชิง เช่นรายจ่ายจำเป็นอย่างค่าเดินทาง ค่ากิน, รายจ่ายเพื่อความรู้ความบันเทิงอย่าง ดูหนัง, ฟังเพลง รายจ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆ อย่างช้อปปิ้ง, สังสรรค์นอกบ้าน รายจ่ายพิเศษอย่างเงินใส่ซอง, ซ่อมแซมสิ่งของในบ้าน, ของขวัญเป็นต้น

0
3 เทคนิคการใช้เงินโบนัสให้คุ้มค่า

เป็นธรรมดาที่พนักงานออฟฟิศเฝ้ารอคอยเงินโบนัส แต่ละที่ก็ให้มากน้อยต่างกันไป แต่อย่างต่ำๆ ก็ 1 เดือนขึ้นไป บางบริษัทใจดีโบนัส 8-9 เดือนก็มี ซึ่งเงินส่วนนี้แหละคือเงินที่สามารถนำไปสร้างสรรค์อะไรที่มันใหญ่ๆ ได้ หลายคนใช้เงินโบนัสไปกับการท่องเที่ยว การจับจ่ายซื้อของใหม่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการนำเงินไปซื้อความสุขในระยะสั้นๆ ทั้งสิ้น วันนี้เราก็มีคำแนะนำเกี่ยวกับการนำเงินโบนัสไปใช้ให้คุ้มค่ามาฝากกัน
1.ซื้ออิสรภาพให้ตัวเอง
เพราะเงินโบนัสที่ได้มาส่วนใหญ่จะได้เป็นก้อน ดังนั้นควรเอาเงินส่วนนี้ไปซื้ออิสรภาพให้กับตัวเองโดยเฉพาะกับคนที่เป็นหนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเครดิตหรือบัตกดเงินสด ควรไปเคลียร์และปิดบัตรซะ การใช้บัตรถือเป็นการหมุนเงินก็จริง แต่จะทำให้ต่อไปในอนาคตนั้นลำบากมากขึ้น เงินเดือนก็ใช้ได้ไม่เต็มเพราะต้องเจียดมาจ่ายค่าบัตรต่างๆ เหล่านี้
2.ซื้อความมั่งคั่งและมั่นคง
เงินก้อนนั้นเหมาะกับการเอาไปลงทุนมากกว่าเก็บไว้เฉยๆ ในธนาคาร เพราะดอกเบี้ยต่ำมาก แถมเงินก็เฟ้อขึ้นทุกปีมีแต่ขาดทุนกับอยู่กับที่ แต่ถ้าเอาเงินไปลงทุนก็จะเหมือนกับเป็นการต่อเงินไว้ ทางที่ดีควรเอาแบ่งเงินออกมาลงทุนและเก็บออมด้วย ทำทั้งสองอย่างพร้อมๆ กันเพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้นำเงินเก็บส่วนนี้มาใช้ได้
3.ซื้อความสุขให้ตัวเอง
แน่นอนว่าเมื่อจัดสรรเงินเป็นอย่างดีแล้ว จะเหลือโบนัสส่วนที่นำมาใช้จ่ายสนองความต้องการของตัวเองได้ โดยจะต้องผ่านการวางแผนและไตร่ตรองมาแล้ว เช่นหากอยากได้กระเป๋าใหม่สักใบ ก็ควรคิดว่าซื้อตอนเซลล์ดีไหมหากเป็นแบรนด์เนมมีราคา หรือหากอยากจะไปท่องเที่ยวก็ควรเลือกไปกับทัวร์ที่เตรียมทุกอย่างเอาไว้ให้พร้อมแล้ว จะได้ไม่เสียเวลาและเสียเงินเพิ่มเป็นต้น

0
ปลดหนี้ยังไงให้หนี้หมดไวแบบติดจรวด

การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐจริงๆ เพราะมันเป็นการสร้างภาระในอนาคตที่ต้องแบบรับกันยาวๆ แต่บางคนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะบ้านและรถเป็นสิ่งจำเป็นเลยทำให้ต้องเป็นหนี้กันยาวๆ บางคนตอนเริ่มซื้อก็มีกำลังทรัพย์ดี แต่พอผ่อนไปเรื่อยๆ เงินเริ่มไม่พอใช้ อยากจะเคลียร์หนี้ไวๆ วันนี้เราก็มีวิธีปลดหนี้มาฝากกัน เคลียร์ยังไงให้ไวเหมือนติดจรวด
1.เป็นหนี้บ้าน
ถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่ต้องผ่อนกันยาวๆ เกินกว่า 10 ปี บางคน 30 ปีกว่าจะชำระหนี้หมด ซึ่งอัตราการกู้ซื้อบ้านไม่ได้สูงมากนัก 6-7% ต่อปี แต่ก็ถือเป็นภาระที่ต้องแบกรับไว้อย่างยาวนาน แต่การจะปลดหนี้บ้านให้หมดไวๆ นั้น จำเป็นต้องโปะหนี้แบบลดต้นลดดอก ซึ่งจะทำให้เซฟค่าดอกเบี้ยคำนวณจากอัตราดอกเบี้ย 6.5% ต่อไป ซึ่งอาจจะหนักสักหน่อยแต่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแบบบานปลาย
2.หนี้รถ
หนี้ก้อนหนี้ผ่อนไม่กี่ปีก็หมดเพราะไม่ได้แพงเหมือนบ้าน แถมอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ได้แพงมากด้วย อยู่ที่ 2.5 – 5% ต่อปี แต่เพราะดอกเบี้ยคงที่เลยทำให้ต้องจ่ายสูงในแต่ละเดือน ดังนั้นให้เลือกผ่อนในระยะเวลาที่สมควรเพื่อที่จะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น อาจจะหนักหน่อยในแต่ละเดือน แต่เพื่อแลกกับไม่ต้องจ่ายเบี้ยหัวแตกไปเรื่อยๆ ก็ต้องกัดฟันจ่าย
3.หนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด
เป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุด แต่ผู้คนก็นิยมเป็นหนี้บัตรประเภทนี้กันมาก ซึ่งการนำเงินในอนาคตมาใช้นั้นหากบริหารไม่ดี ก็มีแต่พังกับพัง เป็นหนี้จนแต่ละเดือนไม่พอจ่าย หรือไม่ก็จ่ายขั้นต่ำไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ดังนั้นหากไม่จำเป็นอย่างใช้บัตรประเภทนี้ หรือหากอยาเคลียร์หนี้ไวๆ แนะนำให้จ่ายในอัตราสูงสุดต่อเดือน ก็จะทำให้เคลียร์หนี้ได้ไวขึ้น

0
เลิกหาข้ออ้างให้ตัวเอง เพื่อเก็บออมเงินแบบมั่นคง

การเป็นมนุษย์เงินเดือนอย่างเรานั้นแสนลำบาก แต่ละเดือนแทบไม่พอใช้ ชักหน้าไม่ถึงหลังเลยจริงๆ ภาระค่าใช้จ่ายก็มากเหลือเกิน อยากจะมีเงินไปเที่ยวไปกินบางครั้งก็ต้องจำกัด จึงไม่มีเงินพอให้เก็บ บางคนก็มีข้ออ้างว่าค่าใช้จ่ายเยอะเก็บไม่ได้ไม่พอกินบ้างล่ะ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำการเลิกหาข้ออ้างเพื่อเก็บออมแบบมั่นคงให้ได้ทราบกัน
1.ข้ออ้างเงินเดือนน้อย
เป็นข้ออ้างยอดฮิตเลยก็ว่าได้ เอาจริงๆ ประชากรกว่า 70% ก็มีเงินเดือนน้อยทั้งนั้น อยู่ที่ว่าใครจะสัดสรรเงินอย่างไร การยกข้ออ้างนี้มาใช้เป็นการบอกปัดเพื่อให้ได้มาซึ่งการใช้จ่ายเกินตัว กลัวจะไม่ได้กินของดีๆ กลัวจะไม่ได้ช้อปปิ้ง ซึ่งจริงๆ แล้วนั้น เงินเดือนน้อยก็สามารถเก็บออมได้ เลิกอ้างแล้วเก็บออมซะ เงินเดือนออกเมื่อไหร่ให้หักมา 20% ก่อนเลยเพื่อเก็บออม เงินที่เหลือก็เอามาจัดสรรให้ดีๆ ส่วนไหนค่าใช้จ่าย ส่วนไหนค่ากิน ส่วนไหนค่าช้อป ทำแบบนี้จะยังใช้ชีวิตได้ตามปกติและยังมีเงินเก็บอีกด้วย
2.ข้ออ้างค่าใช้จ่ายเยอะ
แต่ละคนล้วนมีภาระทั้งสิ้น มากน้อยต่างกันไป บางคนมีภาระเยอะแต่เงินเดือนน้อย บางคนมีภาระน้อยแต่มีเงินเดือนเยอะ ซึ่งความจำเป็นของค่าใช้จ่ายก็ต่างกัน บางคนผ่อนบ้าน รถหรือมีภาระที่ต้องส่งเสียครอบครัว บางคนค่าใช้จ่ายเยอะเพราะต้องซื้อเสื้อผ้ามาประโคมใส่เพื่อหน้าตาทางสังคม ความต้องการล้วนแตกต่างกัน ดังนั้นข้ออ้างนี้ก็มีทางออก แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะเยอะแค่ไหน ก็ต้องมีให้เหลือเก็บบ้าง ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกให้หมด โดยเฉพาะการซื้อของ 1 แถม 1 แม้จะดูคุ้มค่า แต่ก็ต้องแลกด้วยการจ่ายเงินที่มากขึ้น ดังนั้นเอาเงินส่วนนี้มาเก็บไว้ดีกว่า
3.ข้ออ้างเรื่องอายุ
มีหลายคนเช่นกันโดยเฉพาะผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ๆ เห็นว่าอายุยังน้อยอยู่ไม่จำเป็นต้องเก็บเงินเก็บทองก็ได้ เพราะระยะเวลาการทำงานยังอีกยาวไกล ซึ่งการคิดเช่นนี้นั้นผิดมากๆ เพราะว่ายิ่งอายุการทำงานน้อยก็ยิ่งควรเก็บออมให้มาก เพื่อสร้างรากฐานให้กับชีวิตนั่นเอง

0
5 เทคนิคต้องรู้หากอยากเป็นนักลงทุน

ใครๆ ต่างก็อยากมีความมั่นคงทางการเงินทั้งนั้น แหละหนทางที่จะทำให้รวยได้ก็คงไม่พ้นการลงทุนต่างๆ แม้จะมีความเสี่ยงแต่โอกาสที่จะได้ก็มีสูงเช่นกัน การจะลงทุนให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้อยู่ที่ว่าลงทุนมากลงทุนนั้น แต่จะต้องมีการวางแผนการลงทุนที่ถูกต้องต่างหาก คือเคล็ดลับสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้
1. กำหนดเป้าหมายการลงทุน
อันดับแรกเลยจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายก่อน คิดอย่างจริงจังว่าจะลงทุนอะไร ประเภทไหน และอยากลงทุนไปเพื่ออะไร หาเหตุผลและรายละเอียดลึกๆ ไม่ใช่ว่าอยากลงทุนเพราะอยากรวย แค่นี้ยังไม่ใช่การกำหนดเป้าหมายที่ขัดเจนนัก เพราะมันกว้างเกินไปทั้งนี้จะต้องตั้งเป้าไว้เลยว่า การลงทุนในครั้งนี้จะต้องได้กี่บาทภายในระยะเวลากี่ปี เช่นจะมีเงินเก็บจากการลงทุน 1 ล้านบาทภายในเวลา 2 ปีเป็นต้น
2. ลงทุนด้วยเงินเหลือหรือเงินเย็น
เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นไม่ควรลงทุนด้วยเงินร้อนหรือเงินที่ต้องใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพราะอาจทำให้มีผลกระทบผูกพันเป็นลูกโซ่ได้ ดังนั้นควรลงทุนด้วยเงินเก็บที่มีอยู่ 6 เท่าของเงินเดือน หากยังไม่ถึงก็อย่าเพิ่งลงทุนเพราะสภาพคล่องทางการเงินยังไม่แข็งพอที่จะลงทุน
3. ทำความรู้จักตัวเอง
ในส่วนของการลงทุนนั้นมีหลายประเภทให้เลือก ก่อนอื่นจะต้องตอบคำถามและสำรวจตัวเองก่อนว่าชอบความเสี่ยงแบบไหน เพราะแต่ละการลงทุนนั้นความเสี่ยงมากน้อยต่างกัน ลองถามตัวเองว่ารับความเสี่ยงได้หรือไม่ ถ้าไม่ก็ควรลงทุนประเภทตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ